เผยพฤติกรรมลูกค้า ก่อนจะตัดสินใจช้อป
พฤติกรรมผู้บริโภคหรือลูกค้า มีการเปลี่ยนแปลงไปทุกปี โดยมักจะขึ้นอยู่กับการมาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้นักการตลาดต้องคอยอัปเดตข้อมูลเพื่อให้เท่าทันอยู่เสมอ เนื่องจากมีการเกิดแพลตฟอร์มใหม่ ๆ รวมถึงคอนเทนต์ที่อาจส่งผลต่อลูกค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลการวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่โดย Qualtrics เปิดเผยว่าในประเทศไทยผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้นให้ความสำคัญต่อการบริการลูกค้าที่ดีเยี่ยม รวมถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จนเกิดการตัดสินใจซื้อ เรียกว่าให้ความสำคัญกว่าเรื่องราคาซะอีก ซึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า ในปี 2024 นี้ “ประสบการณ์ที่ดี” ของลูกค้า ยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า โดย Qualtrics เผยว่า 58% ลูกค้าใส่ใจเรื่องคุณภาพสินค้าและบริการ คือการให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าที่ต้องดี แม้ราคาจะสูง เพราะเชื่อว่า ของดี = แพง แต่ทั้งนี้ก็ต้องมากับการบริการที่ดี เพื่อให้เกิดความประทับใจและกลับมาซื้อซ้ำ 52% การบริการในรูปแบบดิจิทัลหรือออนไลน์ ในยุคปัจจุบันเป็นการมาของเทคโนโลยี ทำให้การบริการถ้ามาในรูปแบบของดิจิทัลหรือออนไลน์ โดยที่ลูกค้าไม่ต้องไปซื้อถึงหน้าร้าน ก็สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ด้วยเช่นเดียวกัน 36% ประสบการณ์ทางดิจิทัลที่ง่ายและสะดวก การซื้อง่าย-ขายคล่อง และมีบริการหลังการขายหรือแชตบอทที่คอยตอบคำถาม ก็เป็นความสะดวกสบายที่ลูกค้าหลายคนยอมจ่าย ถ้าได้รับการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วและตรงจุด 31% ราคา แม้จะบอกว่า “ราคา” อาจไม่ใช่เป็นเรื่องสำคัญ ที่ลูกค้าให้ความสนใจ แต่ทั้งนี้ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าเกิดพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ 23% การทำสิ่งดี ๆ เพื่อสังคม ผู้บริโภคในปัจจุบันหันมาสนใจในความรับผิดชอบและจริยธรรมของแบรนด์มากขึ้น ทั้งในเรื่องของการทำประโยชน์ต่อสังคม , ใส่ใจในเรื่องรักษ์โลก , การแสดงความเสียใจต่อความสูญเสีย เป็นต้น ดังนั้นแต่ละแบรนด์ต้องการทำการตลาดด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ทั้งนี้เมื่อผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย Content เล่าเรื่องต้องมาแรง เพราะสามารถสร้างประสบการณ์ได้มากการขายตรงทั่วไป ดึงดูดได้มากกว่าเก่า ให้ความสำคัญกับการช็อปปิ้งออนไลน์ ผ่านการทำคอนเทนต์ แน่นอนว่าในปัจจุบันเมื่อแต่ละแบรนด์รุกออนไลน์หลังพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แช็ตบอตจาก AI ก็เป็นที่จับตา เพราะสามารถตอบสนองความต้องการด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ ก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ โดยแนวโน้มประสบการณ์ของผู้บริโภคในประเทศไทยปี 2567 เมื่อ AI กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิต ลูกค้าจึงให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์ และคาดว่าจะมีการกลับมาซื้อซ้ำ เพราะต้องการให้รางวัลแก่แบรนด์ที่สนับสนุนด้านดิจิทัล ซึ่งผู้บริโภคกว่า 56% รู้สึกสบายใจในการมีส่วนร่วมกับบริการ และการสื่อสารที่ขับเคลื่อนด้วย AI แต่ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงปัญหาใหญ่ที่สุดของผู้บริโภค …
กลยุทธ์ Rebranding สร้างภาพลักษณ์ใหม่ เพื่อดึงดูดใจ “ลูกค้าเก่า” และ “ลูกค้าใหม่”
ทุกวันนี้กระแสต่าง ๆ มีการเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับความชื่นชอบ ความเชื่อมั่น ที่มาไว-ไปไว บางอย่างที่เคยประสบความสำเร็จในอดีตอาจใช้ไม่ได้ผลในสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการ Rebranding ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ เพื่อดึงดูดใจลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ การรีแบรนด์ คือ ภาพลักษณ์เชิงธุรกิจ โดยในที่นี้อาจรวมถึงโลโก้ , สี , ชื่อ , สโลแกน เพื่อสร้างการจดจำ โดยมีการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ดังกล่าวใหม่ เพื่อสร้างความแตกต่างและโดดเด่น ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้เกิดการรีแบรนด์ ก็มีทั้ง กลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนไป , ปรับตัวตามความต้องการของตลาดให้มากขึ้น , เพื่อกู้ชื่อเสียง หลังเกิดข้อผิดพลาดขึ้น เป็นการลบล้างภาพจำเดิม ๆ และเปิดใจยอมรับใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้การรีแบรนด์ อาจเริ่มตั้งแต่การปรับ “เล็กๆ” นั่นก็คือ “Brand refresh” เช่น ปรับฟอนต์ ปรับโลโก้ เพื่อให้แบรนด์ดูสดใหม่มากกว่าเดิม ต่อมาเป็นการปรับ “บางส่วน” นั่นก็คือ “Partial Rebranding” เป็นการสร้างความแตกต่าง เช่น ปรับโลโก้ใหม่ แต่ยังคงใช้ฟอนต์เดิม และสุดท้ายกับ “Brand overhaul” เป็นการปรับ “ทั้งหมด” เพื่อสร้างความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน ทั้ง โลโก้และสี ซึ่งในที่นี้อาจรวมไปถึงกลยุทธ์ หรือมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เลยก็เป็นได้ กลยุทธ์ Rebranding ในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ที่เห็นกันได้บ่อยกับแบรนด์ดังในตลาด คือ การปรับโลโก้ กลยุทธ์นี้จะทำให้ลูกค้าเกิดการรับรู้ ช่วยสร้างการจดจำได้ โดยเปลี่ยนองค์ประกอบของโลโก้หรือการใช้สีที่เปลี่ยนไป แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูสีที่ถูกโฉลกและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย วาง Brand Position ใหม่ เป็นการกำหนดจุดยืนของร้านให้ชัดเจน โดยดูแนวทางการสื่อสารต่าง ๆ ผ่านการทำคอนเทนต์ เพื่อให้เข้าถึวงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด ทำโฆษณาใหม่ การใช้กลยุทธ์นี้ เป็นการสื่อสารแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างการจดจำ และยังช่วยดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาได้ การ Rebranding ไม่ใช่แค่เพียงเปลี่ยนตามกระแส แต่เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้แบรนด์แข็งแรง ส่งผลดีต่อการเปลี่ยนแปลง และอาจขยายตลาด ดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ในขณะที่ลูกค้าเก่าก็ยังคงอยู่ รักและผูกพันแบรนด์มากขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้ …
สินค้าถูกสร้างในโรงงานแต่ แบรนด์ถูกสร้างขึ้นภายในใจ
“Products are made in a factory but brands are created in the mind.” Credit: Walter Landor – was a renowned brand designer and founder of brand consulting firm Landor. “สินค้าถูกสร้างในโรงงานแต่ แบรนด์ถูกสร้างขึ้นภายในใจ” – เพราะแบรนด์คือบางสิ่ง บางอย่างที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณ แต่ขึ้นอยู่กับคนที่มองเห็นแบรนด์คุณ ซึ่งคนเหล่านี้คือคนที่มีประสบการณ์ทางใดทางหนึ่งกับแบรนด์คุณหรือบริษัทของคุณ ดังนั้นคุณต้องมีการสร้างประสบการณ์ที่ดีเพื่อให้คนที่สัมผัสแบรนด์คุณเหล่านี้ได้สัมผัสด้านดีในแบรนด์ของคุณ …
หากจะมีใครสักคนนิยามความเป็นแบรนด์ของคุณ ภาพลักษณ์ที่ชัดเจนนั้นจะถูกพูดถึงหรือเล่าตอนที่คุณนั้นไม่ได้อยู่ร่วมฟังในห้องนั้นๆ
“Your brand is what people say about you when you are not in the room” Jeff Bezos, Founder of Amazon . . หากจะมีใครสักคนนิยามความเป็นแบรนด์ของคุณ ภาพลักษณ์ที่ชัดเจนนั้นจะถูกพูดถึงหรือเล่าตอนที่คุณนั้นไม่ได้อยู่ร่วมฟังในห้องนั้นๆ …
แนะวิธีปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้สอดคล้องรับ ESG
ในยุคปัจจุบันนี้ องค์กรชั้นนำภาคธุรกิจ มักจะชู “ESG” เป็นแนวคิดสำคัญในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ ซึ่ง “ESG” ที่ว่านี้ หลายคนมักจะคุ้นหูคุ้นตา เพราะเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบใน 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environmental) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ , สังคม (Social) การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม และบรรษัทภิบาล (Governance) การมีนโยบายที่ดี อาทิ การไม่คอร์รัปชัน การยอมรับเพศสภาพในที่ทำงาน และต่อต้านทุจริต เพื่อทำให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแนวคิดนี้กำลังได้รับความนิยม จากกระแสเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม งานนี้หลายๆ องค์กรจึงปรับตัวและนำแนวคิดนี้มาใช้ เพื่อตอบโจทย์นักลงทุน และแน่นอนว่าในปี 2024 นี้ ก็ต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อให้สอดคล้องธุรกิจ ใช้กลยุทธ์เรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การตระหนักเรื่องผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการใช้ของที่ย่อยสลายยาก เช่น กระดาษและถุงพลาสติก รวมถึงคำนึงในเรื่องการใช้พลังงานทดแทน สนับสนุนเรื่องความเท่าเทียม และสนับสนุนด้านความหลากหลายทางเพศ เช่น ทำแคมเปญการตลาดในช่วง Pride Month และการผลิตสินค้าที่ไม่กำหนดเพศ หรือการเปิดรับความหลากหลายในที่ทำงาน การปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัว ในยุคนี้เรื่องความเป็นส่วนตัวถือว่าสำคัญ เพราะฉะนั้นแต่ละแบรนด์ต้องคำนึงถึงการทำตามกฎ เช่นเรื่อง PDPA และใช้ประโยชน์ของข้อมูลส่วนตัวตามที่ระบุไว้ มีจริยธรรมบนการสื่อสาร เลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน เพื่อช่วยให้องค์กรใช้พลังงานและทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ายิ่งขึ้น เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation) มาลดภาระการทำงานซ้ำซ้อน , การใช้ AI มาสร้างโมเดลคำนวณแนวทางลดการกระทบสิ่งแวดล้อม โดยที่ต้องไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ปรับให้ ESG เข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร โดยบูรณาการความยั่งยืนให้เข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร ให้ความสำคัญกับพนักงาน จะเป็นการดึงดูดให้มีคนเก่ง ๆ มาร่วมงาน และเป็นการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้อื่น เรียกว่าองค์กรหรือแบรนด์ต่าง ๆ ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มีแนวคิดธุรกิจ ESG จะช่วยขับเคลื่อนสะท้อนบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม นำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพและเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว …
ถ้าวันนี้คุณทำให้ผู้คนเชื่อในคุณค่าของบริษัทคุณ สักวันคนเหล่านั้นจะให้ความภักดีกับแบรนด์ของคุณ
“If people believe they share values with a company, they will stay loyal to the brand.” Howard Shultz – CEO Starbucks “ถ้าวันนี้คุณทำให้ผู้คนเชื่อในคุณค่าของบริษัทคุณ สักวันคนเหล่านั้นจะให้ความภักดีกับแบรนด์ของคุณ” …
อัปเดตเทรนด์สีปี 2024 ที่ Graphic Design ต้องรู้
“สี” ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องความเชื่อและมีอิทธิพลต่อชีวิต ไม่เว้นแม้แต่การเป็นหนึ่งในเครื่องมือการสื่อสารที่ทรงพลัง เพราะไม่ว่าจะยุคสมัยไหน “สี” ยังคงมีบทบาทสำคัญอยู่ในทุกอุตสาหกรรมเสมอ และในปีนี้ TCDC ยังคงนำบริบทและแนวโน้มของทิศทางสังคมมาวิเคราะห์ โดยคาดการณ์ว่า สีใดจะได้รับความนิยมในปี 2024 นี้ ซึ่งได้เคาะแล้ว สำหรับ 7 เทรนด์สีแห่งปี 2024 โดยเป็นการสะท้อนการปรับตัวของโลก ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สีสันในปีนี้จึงมาแบบแปลกใหม่ แต่ก็ดูจะเข้ากับไลฟ์สไตล์ได้มากขึ้นด้วยเหมือนกัน RICH GOLD : เฉดสีเบจแกมทอง สะท้อนความเรียบง่าย ความอ่อนโยน สบาย ๆ ไม่หวือหวา อุตสาหกรรมที่แนะนำ = แฟชั่นแนวเรียบง่าย บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก CORAL GOLD : เฉดสีส้มอมน้ำตาล ตัวแทนพลังบวก สุขภาพ การบำบัดจิตใจ เฉดสีสว่าง มีชีวิตชีวา อุตสาหกรรมที่แนะนำ = ธุรกิจบ้าน การตกแต่งภายใน ผลิตภัณฑ์ห้องน้ำและห้องนอน CAPRI : เฉดสีฟ้าอมเขียว สีสร้างพลัง เน้นโชคลาภของสายมู ให้ความสนุกสนาน เพิ่มความหรูหรา อุตสาหกรรมที่แนะนำ = อัญมณี ประติมากรรม การออกแบบภายใน เฟอร์นิเจอร์ RASPBERRY ROSE : เฉดสีชมพูเข้ม ตัวแทนของสีค่ากลาง ไร้เพศ สะดุดตา มีพลัง กล้าหาญ อุตสาหกรรมที่แนะนำ = แคมเปญการตลาด อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ VIOLET STORM : เฉดสีม่วง แสดงถึงความเป็นผู้นำที่น่ายกย่อง ความอิสระ และความเท่าเทียม อุตสาหกรรมที่แนะนำ = งานคราฟต์ งานมัดย้อม กีฬาทรงพลัง จิตวิทยา PINECONE : เฉดสีน้ำตาล เน้นความธรรมชาติ มีคุณภาพ ไร้กาลเวลา อุตสาหกรรมที่แนะนำ = กิจกรรมสร้างความสุนทรีย์ ออกแบบบ้าน เฟอร์นิเจอร์ งานคราฟต์ …
Digital Marketing Trends 2024
เทรนด์การตลาดในปีหน้า ปี 2024 โดยเหล่านักการตลาด ควรจะมีการศึกษาเทรนด์ของตลาดดิจิทัล และวิธีการทำงานของนักการตลาดที่ประสบความสำเร็จ เพื่อรู้และปรับใช้ให้ทันโลก ที่มีการแข่งขันสูงและเปลี่ยนไปทุก ๆ วัน ซึ่งว่ากันว่าเทรนด์ในปีหน้า ยังคงน่าสนใจและน่าจับตาเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น เทรนด์การตลาดแบบ “สร้างแบรนด์ระยะยาว” เทรนด์การตลาดดิจิทัลในปีหน้า จะเป็นการลงงบไปกับ “การสร้างแบรนด์ในระยะยาว” (Long-Term Marketing) เพื่อให้เกิดการเติบโตที่ยั่งยืน โดยเป็นการเน้นย้ำในเรื่อง “แบรนด์” ให้เด่นชัดขึ้น เป็นที่รู้จักมากขึ้น สร้างการรับรู้ให้มากขึ้น ขายของก็ต้องได้ Branding โดยใช้ “ความสนใจ” ของลูกค้า เข้ามาให้ “หยุดมอง” นานขึ้น หากทำได้สำเร็จจะทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้มากกว่า ส่งผลให้แบรนด์เติบโตขึ้นได้ ให้ความสำคัญกับ “คน” ที่มีพฤติกรรมการใช้จ่ายเปลี่ยนไป เพราะผู้บริโภคมีความหลากหลาย หากทำการตลาดที่อิงตาม “วัย” เหมือนที่ผ่านมาก็อาจจะไม่โดนใจผู้บริโภคเหมือนเมื่อก่อน โดยให้ “โฟกัส” ที่การให้คุณค่ากับผู้คนในสังคมมากขึ้น เพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์ให้แคบลง โดยปีหน้าผู้บริโภคจะหันมาท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น สนใจกิจกรรมเพื่อตัวเองมากขึ้น ดูแลตัวเองมากขึ้น สิ่งที่นักการตลาดควรมองคือ พฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไป โดยอาจจะต้องประเมินกลยุทธ์ด้านราคาใหม่ และ วางคุณค่าของแบรนด์ ให้เป็น “ความคุ้มค่า” ทักษะทางการตลาด ที่นักการตลาดต้องมี นักการตลาดในปี 2024 ควรจะต้องเพิ่มทักษะ ที่ถือว่าสำคัญไม่แพ้กับการใช้เครื่องมือต่างๆ โดยจะต้องคำนึงในเรื่อง แบรนด์ต้องมีประโยชน์กับผู้บริโภค และสร้างคุณค่าดี ๆ ให้กับสังคม , เจ้าของธุรกิจต้องเป็น Game Changer เพื่อก้าวสู่การเป็น “ผู้นำ” และสุดท้ายคือสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์คู่แข่ง และทำความรู้จักให้มากขึ้น การจับตาดูคู่แข่งว่ากําลังทําอะไรอยู่นั้น เป็นสิ่งที่นักธุรกิจต้องทำ เพราะโลกดิจิทัลมีการแข่งขันสูงขึ้นกว่าเดิม มีเทรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ทำให้การแข่งขันเปลี่ยนไป โดยสุดท้ายแล้วต้องวิเคราะห์คู่แข่งที่มีประสิทธิภาพ โดยดูว่ากลยุทธ์ของพวกเขามุ่งเน้นไปที่อะไร และธุรกิจของเราได้เปรียบอย่างไร ใช้สื่อหลายช่องทางให้มากขึ้น การทำการตลาดต้องวิเคราะห์ช่องทางที่จะทำให้ impact ต่อผู้บริโภค โดยดูว่าผู้บริโภคจะรับสื่อแบบไหนและสนใจอะไร เนื่องจากผู้บริโภคถือเป็น “กลุ่มผู้คน” และ “มีอารมณ์” ที่ต้องทำความเข้าใจ ซึ่งปัจจุบันพบว่า สื่อที่คนไทยสนใจและใช้เวลามากที่สุดในระดับ 3-5 ชั่วโมง …
ความสม่ำเสมอเป็นหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
ในการทำธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงและให้ความสำคัญนั่นก็คือ “ความสม่ำเสมอ” เพราะเป็นหัวใจของความสำเร็จในทุก ๆ อย่างที่ทำให้เจ้าของธุรกิจไม่หยุดพัฒนา และเป็นการเร่งความสำเร็จให้ใกล้ขึ้นด้วย ที่ผ่านมาหลาย ๆ เจ้าของกิจการ ถูกตั้งคำถามว่าทำไมจึงล้มเหลวในการทำเป้าหมายให้สำเร็จ เพราะบางคนไม่ได้ตั้งใจทำหรือลงมือทำแล้วแต่ทำไม่สม่ำเสมอ จนผลลัพธ์ออกมาคือ “ไม่ประสบความสำเร็จ” ตั้งมั่น ตั้งใจ ให้สม่ำเสมอ บ่อยครั้งที่ “ความสำเร็จ” ไม่ได้วัดกันที่ใครทำผลงานได้ดีกว่าใคร แต่วัดกันที่ใครทำได้ “สม่ำเสมอ” มากกว่ากัน ยกตัวอย่าง หาก “ตั้งใจ” ทำอะไรเป็นเวลาติดต่อกัน สิ่งนั้นจะกลายเป็นทำอย่างสม่ำเสมอโดยอัตโนมัติ และกลายเป็นว่าไม่ต้องใช้ความพยายามอีกต่อไป ไม่หยุดคิด ตั้งเป้าหมายสม่ำเสมอ “การตั้งเป้าหมาย” ให้เริ่มจากเป้าหมายเล็ก เมื่อทำสำเร็จแล้วค่อยขยับ ให้ใหญ่ขึ้น แต่ทั้งนี้การตั้งเป้าหมายต้อง “วัดผล” ได้ เพื่อจะได้คำนวณ ความก้าวหน้า และต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ลงมือทำ สม่ำเสมอ การ “ลงมือทำ” อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เป้าหมายประสบผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น เพราะ “วินัย” คือหัวใจของความสำเร็จ โดยเป็นการฝึกฝนตัวเอง เพิ่มความชำนาญ หากลงมือทำต่อเนื่องก็ยิ่งเชี่ยวชาญขึ้นไปด้วยเช่นกัน แม้มุมมองความสำเร็จของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และไม่ตายตัว แต่สิ่งหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จที่เหมือนกันก็คือ “ความสม่ำเสมอ” ที่ว่ากันว่าเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ …
จิตวิทยาที่แบรนด์นำมาใช้ แต่ลูกค้าไม่เคยรู้
ปกติแล้วมนุษย์เราจะมีเวลาไม่กี่นาทีในการตัดสินใจซื้อของ เพราะฉะนั้นเองแบรนด์ต่าง ๆ จะต้องใช้หลัก “จิตวิทยา” ที่จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเแล้วตัดสินใจซื้อ มัดใจลูกค้าด้วยกลยุทธ์ ที่ต้องใช้หลักการทำงานของสมองและจิตใต้สำนึก ซึ่งที่ผ่านมาแบรนด์ต่าง ๆ ก็ใช้หลักจิตวิทยามาใช้ แต่ลูกค้าไม่รู้ตัว จะสังเกตได้ว่าแม้สินค้าที่เหมือน ๆ กัน แต่ทำไมอีกแบรนด์ถึงขายดีกว่า ซึ่งตัวแปรคือการกระตุ้นอารมณ์ลูกค้า เป็นการใช้หลักจิตวิทยาอย่างแท้จริง สื่อสารและทำแคมเปญให้เข้าใจง่าย การทำการตลาดที่สำคัญคือต้องผ่านการนำเสนอที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน สื่อสารไปอย่างตรงไปตรงมา เพราะลูกค้ามีเวลาตัดสินใจซื้อไม่มาก ดีอย่างไร ทำไมต้องซื้อ ซื้อไปแล้วจะได้อะไร จะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาใด ๆ สร้างการจดจำ ด้วยความรู้สึก ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการมีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าที่ดี จะช่วยให้เพิ่มการตัดสินใจซื้อและโอกาสในการกลับมาซื้อซ้ำ ประสบการณ์ที่ว่านั้นก็มีทั้ง “เสียงเพลง (Music Marketing)” ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ มักใช้กลยุทธ์นี้ เพราะในทางหลักจิตวิทยา เสียงเพลงจะวนเวียนซ้ำ ๆ สร้างการจดจำให้กับกลุ่มลูกค้า เป็นการส่งผลต่อประสบการณ์และช่วยสร้างการจดจำเป็นอย่างดี มอบความรู้สึกพิเศษ เพื่อคนพิเศษให้กับลูกค้า แบรนด์ดังต่าง ๆ มักจะใช้หลักจิตวิทยา ในการทำให้ลูกค้ารู้สึก “พิเศษ” ไม่ว่าจะเป็นออกสินค้ารุ่น Limited , การมอบของแถม จะทำให้ตัดสินใจซื้อได้ง่าย แม้ว่าของที่ซื้ออาจจะไม่ใช่ของที่ต้องการก็ตาม และหากลูกค้าได้เกิดความรู้สึกพิเศษ เขาจะเดินกลับมาซื้ออีกครั้ง รวมถึงอาจรีวิว ส่งต่อความเห็นดี ๆ ลงบนโซเชียล สร้างภาพลักษณ์ที่ดีเพิ่มให้กับแบรนด์ ตั้งราคา จิตวิทยาเรื่องตัวเลข การตั้งราคา เป็นหลักการที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องกำไร-ขาดทุน แต่เป็นเรื่องของจิตวิทยาของลูกค้า เพราะราคาจะเป็นตัวกำหนดการดึงดูด ความสนใจให้กับสินค้า เช่น การตั้งราคาสินค้า ลงท้ายด้วยเลข 9 จะทำให้ลูกค้ารู้สึกราคาไม่แพง เช่นของราคา 99 บาท ก็อาจมองว่า “ไม่แพง” , “ไม่ถึงร้อย” ทั้งๆ ที่ความจริงก็เป็นราคาใกล้กับ 100 บาทนั่นแหละ จิตวิทยาความกลัว ช้าหมด อดได้ของ การใช้หลักจิตวิทยาข้อนี้ มักจะมาจากสินค้าที่ดูมี Value ด้วยการผลิตออกมาจำนวนน้อย ตรงข้ามกับความต้องการลูกค้าที่สูง เช่น ผลิตน้อย หมดแล้วหมดเลย …