จะสำเร็จในธุรกิจไม่ใช่แค่กำไร แต่มองธุรกิจให้ออกตลอดทั้งสายจากต้นน้ำยันปลายน้ำ
อย่า!! มองแค่กำไร เพราะนี่ไม่ใช่ทั้งหมดของการทำธุรกิจ การจะทำธุรกิจให้ดีได้นั้นต้องแกะให้ออกต่อไปนี้ กำไร ต้นทุน ที่สอดคล้องกับเวลา สร้างแนวทางการตลาดการขายที่ได้ผลกับตัวเอง เช็คตลอดเส้นทางอะไร ที่ช่วยจัดการความเสี่ยงให้เร่งทำ ‘ในทันที’ สอนงาน คุมงาน สร้างให้ทีมงานเก่ง ไม่เพียงแค่ทำตามได้ แต่ทำได้ดีกว่า วัดผลตลอดเวลา สนุกกับเครื่องมือใหม่ ๆ ไม่สร้างภาวะยึดติด …
เคล็ดไม่ลับ!! เทคนิคทำธุรกิจให้สำเร็จสไตล์ Elon Musk
เคล็ดไม่ลับ!! เทคนิคทำธุรกิจให้สำเร็จสไตล์ Elon Musk มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก ณ ตอนนี้ที่ใคร ๆ ก็พูดถึงนั่นคือ Elon Musk เขาเป็นคนที่โดดเด่น แตกต่างและแน่นอนว่า ‘ช่างคาดเดายาก’ แต่ทั้งนี้เขามีเทคนิคต่าง ๆ ที่สร้างไว้ และพิสูจน์เป็นความสำเร็จให้เห็นซึ่งสามารถหยิบไปเป็นแบบอย่างหรือปรับใช้ให้เหมาะสมได้ กระตือรือร้นกับสิ่งที่ทำ : เป็นเคล็ดลับที่ง่ายและเบสิกมาก ๆ แต่ได้ผลอย่างแท้จริง Elon Musk เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ‘เขาเป็นคนที่กระตือรือร้นและไล่ล่าในสิ่งที่เค้าหลงใหล ทำในสิ่งที่ชอบ และเขาจะไม่หยุดทำมัน’ เตรียมพร้อมที่จะทำงานหนัก : แน่นอนว่าข้อนี้ก็เบสิกอีกแล้ว แต่ก็เป็นสูตรสำเร็จจริง ๆ เขาเคยกล่าวไว้ว่า ‘เขาเตรียมความพร้อมที่จะทำงานหนักกว่าคนอื่น เพราะการทำงานหนักคือโอกาสสู่ความสำเร็จ’ กล้าที่จะเสี่ยง : เขาเคยให้สัมภาษณ์กับหลายสื่ออยู่เสมอว่า ‘การไม่กล้าเสี่ยงกับอะไรเลย คือความเสี่ยงอย่างหนึ่ง’ อย่าหยุดที่จะลงทุนกับตัวเอง : กับบทสัมภาษณ์เช่นเคยว่า ‘ต้องเป็นนักตั้งตำถามกับตัวเองว่าเราจะพัฒนาสิ่งนี้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร ยิ่งในยุคที่ทุกอย่างเร็วไปหมดต้องกล้าลงทุนที่จะเรียนรู้ให้รอบด้านและลงลึก’ Photo Credit : Jae C. Hong …
การมีธุรกิจที่หลากหลาย และแตกต่างกันนั้น จะช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน เพิ่มฐานลูกค้า และทำให้การบริหารองค์รวมได้กำไรมากขึ้น
ทำไม ? บริษัทที่รวยแล้วยังต้องลงทุนหรือหาธุรกิจใหม่ทำ ? การมีธุรกิจที่หลากหลายและแตกต่างกันนั้น เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันช่วยให้ธุรกิจแซงหน้าคู่แข่งไปได้ หลาย ๆ ธุรกิจจึงเลือกที่จะสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ต่อยอดพัฒนาสินค้าและบริการ ให้สามารถแตกไลน์เพิ่มเติมขึ้นไปได้อีก ชิงส่วนแบ่งทางการตลาดใน Segment ใหม่ ๆ เมื่อเกิดการต่อยอดรูปแบบธุรกิจหรือสินค้าใหม่ จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและขยายฐานเข้าสู่ตลาดใหม่ได้และในขณะเดียวกันเป็นโอกาสสร้างกลุ่มลูกค้าหมุนเวียนกันในกลุ่มธุรกิจของตนเองที่หลากหลายและครอบคลุม เพิ่มศักยภาพในการทำกำไรให้มากขึ้น การขยายธุรกิจใหม่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกำไรมากขึ้น เพราะแต่ละธุรกิจทำกำไรได้ไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน การมีหลากหลายจะช่วยให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ได้กำไรมากขึ้น รวมถึงสามารถหาวิธีในการลดต้นทุนได้อีกด้วย ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทรนด์ การแตกไลน์ต่อยอดของธุรกิจใหม่ จะสามารถช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทัน ธุรกิจจึงต้องเตรียมแผนปรับตัวกับความชอบ ความต้องการ ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ธุรกิจตายหรือถึงทางตัน โดยการ Develop ธุรกิจ สินค้าหรือบริการใหม่ ๆ จะช่วยให้ตอบสนองความต้องการในตลาดได้เป็นอย่างดี การปรับตัวด้วยการพัฒนาธุรกิจให้สอดรับกับวัตถุประสงค์ของบริษัทหรือวิจัยนวัตกรรมใหม่ ให้สอดคล้องกับกฏระเบียบ ข้อบังคับและกฏหมายที่เกิดการเปลี่ยนแปลง จะช่วยให้ธุรกิจไม่สะดุด สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ไม่ว่าจะเปิดกี่บริษัท ทำกี่ธุรกิจก็ต้องให้ความสำคัญกับ Business Development ตามพฤติกรรมของลูกค้าในปัจจุบันเป็นสำคัญด้วย …
คุณสมบัติของ CEO ระดับโลก ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ มีความทะเยอทะยาน ชอบเรียนรู้ จึงจะสามารถนำพาองค์กรไปสู่จุดสูงสุด และประสบความสำเร็จ
เปิดคุณสมบัติที่ CEO ระดับโลก ที่มีร่วมกันและควรเอาเป็นแบบอย่างที่ดี สำหรับ CEO ที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงระดับโลกนั้นมีผลสำรวจมากกว่า 2,600 รายชื่อ พบว่ามี 4 คุณสมบัติพื้นฐานที่พวกเราล้วนมีเหมือนกัน ได้แก่ พวกเขาตัดสินใจอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าจากผลสำรวจพบว่า CEO ที่ตัดสินใจอย่างเด็ดขาดและรวดเร็วนั้นมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าคนอื่นถึง 12 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับที่คุณอุ้ม Founder & CEO ของเราเคยเขียนเป็นคอนเทนต์ไว้แล้วว่า ‘การไม่ตัดสินใจอะไรเลยก็คือความเสียหายอย่างหนึ่ง’ ยกตัวอย่าง Steve Gorman CEO ของ GreyHound ในปี 46 ซึ่งเป็นจังหวะที่บริษัทอยู่ในภาวะที่จะต้องกอบกู้จากความเสียหายทางธุรกิจ เขาใช้เวลานานถึง 4 เดือนในการรับฟังชุดผู้บริหารถึงแผนที่จะกอบกู้ GreyHound จากกองข้อมูลจำนวนมหาศาล และเมื่อเขามีข้อมูลที่เพียงพอ เขาพบว่ามีจำนวนประชากรที่หนาแน่นตรงไหนบ้าง เขาตัดสินใจสร้างรถเมล์ GreyHound ออกไปยังเส้นทางรอบประชากรเหล่านั้น และจากกลยุทธ์นี้ มันได้ผล!! เค้าสามารถกอบกู้บริษัทกลับขึ้นมาได้และมีผลประกอบการโตเป็น 2 เท่าของมูลค่าปี 66 ในปี 50 สามารถสร้างแรงดึงดูดให้ผู้คนซื้อไอเดียคุณให้ได้ การที่จะเป็น CEO ที่ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องแสดงไอเดียให้ผู้คนเห็นและดึงดูดให้พวกเขาซื้อในไอเดียของคุณให้ได้ มันไม่ง่ายเหมือนทำให้คนเกลียดคุณหรือชอบคุณ แต่ต้องทำให้พวกเขาเข้าใจและเคารพในไอเดียนั้นอย่างชัดเจน ได้ทั้งเป้าหมายขององค์กร อารมณ์ของคุณ ร่างกาย และการเงิน เพื่อสร้างให้เป็นผลลัพธ์เดียวกัน ยกตัวอย่าง Steve Jobs ผู้ก่อตั้ง Apple ที่ลงไปมีส่วนร่วมในการทำงานกับพนักงาน คอยพลักดันให้โปรดักส์สำเร็จได้จริง และในขณะเดียวกัน CEO ก็จะต้องมีด้านที่โหดร้ายและไม่ปรานี เพื่อตัดสินใจและจัดการอย่างเฉียบขาดในภาวะที่การแข่งขันในตลาดนั้นสูง ทำให้เกิดขึ้นจริงตามที่พูดได้เสมอ สิ่งนี้คือเรื่องของการทำในสิ่งที่พูดหรือเคยให้ไอเดียไว้และส่งมอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งนี้จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับ CEO ส่งต่อเป็นอำนาจ ความน่าเคารพ ยำเกรง ไว้วางใจ และเชื่อใจ ยกตัวอย่างเช่น Richard Branson ผู้ก่อตั้ง Virgin Group เขาทำเช่นนั้นเมื่อเขาสร้าง Virgin Australia ซึ่งเป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ การตัดสินใจเปิดสายการบินนี้แท้จริงแล้วเกิดจากการนำเสนอโปรเจกต์นี้จากพนักงานของเขา เบรตต์ กอดฟรีย์ ซึ่งแบรนสันชอบในทันที …
การทำงานที่ดีต้องเคารพหน้าที่และขอบเขตงานของแต่ละคน
เปิดวิธีที่จะช่วยให้ทีมในบริษัททำงานได้ไม่หลุดโฟกัส ในภาวะปัจจุบันที่ทุกอย่าง Hybird และมีช่องทางการติดต่อสื่อสารกันหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Facebook Inbox Message, IG Story Inbox, Line, Email นี่เป็นแค่ตัวอย่างและนอกจากงาน Routine ตาม Job Description แล้วนั้น ยังมีงานแทรกระหว่างวันอีกจำนวนมากหรือการประชุมต่าง ๆ ในบางองค์กรช่วงเวลาทำงานคือเท่ากับประชุมและได้เริ่มทำงานจริง ๆ คือแทบจะหลังเวลาเลิกงานไปแล้วก็มี และเราหลีกเลี่ยงได้ยากในยุคสมัยที่ทุกอย่างต้อง Proactive และ Multitasking มากขึ้น มาดูกันว่ามีเทคนิคอะไรบ้าง ที่หัวหน้า เจ้านาย จะสามารถนำมาช่วยทีมให้ทำงานได้โดยไม่หลุดโฟกัส ทำงานได้ตาม Timeline และมีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องรู้จักวาง Checklist ให้ครบ สั่งงานให้ครบ เข้าใจง่ายและชัดเจน เพื่อให้พนักงานสามารถจะจัดลำดับความสำคัญว่าอะไรควรทำก่อน อะไรควรทำหลังได้อย่างถูกต้อง และอย่าลืมที่จะเช็กงานกันทุกสัปดาห์เพื่อไม่ให้ตกหล่น พร้อมทั้งเป็นการรับฟังปัญหาในการทำงานเพื่อจะได้หาวิธีแก้ไขได้ถูกต้อง ไม่นำไปสู่ปัญหางานล้นมือหรือทำไม่ทัน ประชุมเท่าที่จำเป็น การประชุมมาก ๆ บางครั้งไม่ใช่ข้อดี ฉะนั้นประชุมเท่าที่จำเป็นและเลือกใช้เทคนิค Checklist ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด กำหนดช่องทางการสื่อสารให้ชัดเจน เช่น ไลน์มีไว้สำหรับอัปเดตงานเท่านั้น และเมลมีไว้สำหรับการส่งไฟล์ต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ป้องกันการตกหล่นและป้องกันไฟล์หมดอายุ ไม่อย่างนั้นทุกคนจะเลือกส่งงานในช่องทางที่ตัวเองพอใจ รับรองว่ามีปัญหาเรื่องการสื่อสารและจัดการไฟล์งานแน่นอน เปิดใจรับฟังแนวคิดและความคิดเห็นของพนักงานทุกมิติ เจ้านายไม่ใช่ที่สุดของจักรวาล ถึงแม้จะมีตำแหน่ง Decision Maker ก็ตาม ควรเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถที่จะปฏิเสธงานบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกำลังที่จะทำได้เพื่อให้พนักงานได้โฟกัสกับงานของตัวเอง งานที่ทำอยู่จะได้ไม่หลุดไทม์ไลน์ กำหนดทิศทางและเป้าหมายของทุกงานที่ทำให้ชัดเจน บริษัทจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายและทิศทางให้ชัดเจนเพื่อที่พนักงานจะได้มองเห็นภาพผลลัพธ์ที่จะออกมา นำไปสู่การวางระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นไปตาม KPI ที่ต้องการ กำหนดเวลาเพื่อทำงานให้ชัดเจน โดยยึดจากตัว Checklist งานเป็นหลัก หรือให้ทีมงานวางแผนจัดการ Working Timeline ของตัวเองให้ชัดเจน สอดคล้องกับโจทย์และ Job งานก็สามารถทำได้ เคารพหน้าที่และขอบเขตงานของแต่ละคน ไม่เข้าไปก้าวก่ายขอบเขตความรับผิดชอบพนักงาน ถ้าหากไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วน ปัญหาใหญ่ หรือพนักงานร้องขอมาให้ช่วย เพื่อให้กระบวนการทำงานรันไปได้ไม่สะดุด จัดสรรจำนวนงานให้เหมาะสมไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป เพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด …
การสร้างแบรนด์และการประชาสัมพันธ์องค์กรของแบรนด์นั้นๆ เป็นสิ่งที่แยกขาดจากกันไม่ได้ ต้องเข้าใจและเลือกใช้อย่างเหมาะสม
ยังมีหลายคนที่เข้าใจผิดและสับสนระหว่าง Branding VS Public Relations คอนเทนต์นี้จะมาแยกให้เห็นความแตกต่างของการทำงานทั้งสองพาร์ทอย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การสร้างแบรนด์และการประชาสัมพันธ์องค์กรของแบรนด์นั้น ๆ เป็นสิ่งที่แยกขาดจากกันไม่ได้แต่ต้องเข้าใจและเลือกใช้อย่างเหมาะสม Branding แบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและจดจำ เป็นสิ่งที่มุ่งเน้นให้เป็นภาพลักษณ์ที่คนจดจำ สิ่งที่นำเสนอจะต้องสอดคล้องกับองค์กร แบรนด์ ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Public Relations การประชาสัมพันธ์ที่ไม่ว่าจะแบบสื่อหลักหรือ Digital PR สร้างและจัดความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กร แบรนด์ ลูกค้า นักลงทุนและสื่อมวลชน รักษาภาพลักษณ์ที่ดีที่แบรนด์ได้นำเสนอไว้ผ่านทุกช่องทางสื่อสารอย่างต่อเนื่อง สร้างข่าว นำเสนอข่าวเพื่อเป็นความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่เรามีความสัมพันธ์ที่ดีร่วมด้วย สำหรับในยุคดิจิทัลเพิ่ม Traffic เรื่องของ SEO เข้ามาด้วย …
เคลื่อนไหวทุกอย่าง อย่างมีกลยุทธ์และมีการวาง Timeline ให้ชัดเจน
ในการทำการประชาสัมพันธ์นั้น นอกจากจะมีการวางกลยุทธ์ที่ชัดเจนยังจะต้องมีการวาง Timeline ที่เหมาะสมกับเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อให้สิ่งนี้นำไปสู่การวัดผลได้ตลอดทั้ง Journey ว่าสิ่งที่ทำนั้นเหมาะสมหรือไม่ หรือมีอะไรที่จะต้องแก้ไข Fix plan ให้ได้อย่างรวดเร็ว มีหลายตำราหรือหลายผู้เชี่ยวชาญออกมาเล่าการจัด PR Phasing ไว้หลากหลายแบบ แต่ทั้งนี้จะเล่าในรูปแบบตามประสบการณ์ของทีม Brand Communication – Strategy ที่นำโดยคุณอุ้ม Founder ของเรา Pre Phase : สำหรับการทำกลยุทธ์เราให้ความสำคัญกับเฟสนี้มากที่สุด เพราะเราเชื่อว่าการติดกระดุมให้ถูกต้องตั้งแต่แรกจะเป็นตัวที่ทำให้เราขับเคลื่อนในเฟสต่อไปได้เร็วขึ้น แต่ทั้งการตีความของแต่ละคนในเรื่องกระดุมก็แตกต่างกันออกไป ขึ้นกับความครีเอทีฟในกลยุทธ์ ไม่ปิดที่กระดุมแรกจะเป็นเม็ดไขว่เป็นสร้างสรรค์ หรือเม็ดเรียงแบบแพทเทิร์นนิยม ซึ่งในเฟสพรีนี้จะประกอบไปด้วย การตั้งคำถามอย่างมาก การ Research ตามคำถามให้ได้ในคำตอบและนำมาซึ่งการวางแผนเชิงกลยุทธ์ During Phase : หรือเฟสนี้เราเรียกว่า ‘ลงมือทำ’ ใน Excuse ที่วางไว้ให้สอดรับกับกลยุทธ์และเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงการแก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผนงานระหว่างทางอย่างต่อเนื่อง มี Keyword 4 ประโยคหลัก ๆ ในเฟสนี้คือ Execution, Monitor, Analyze, Develop Post Phase : เฟสนี้จะเป็นการตรวจเช็คกระบวนการทั้งหมดตาม Journey ให้เป็น Experience กับ KPI และเป็นการประเมินความสำเร็จของแคมเปญ ปกติที่แบรนด์คอม เราจะทำ Evaluation ในรูปแบบ Do Good VS Do Better …