ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับ Mindset ของคน ถ้าคนทำงานยังยึดติดแต่กับผลงานที่ประสบความสำเร็จ ไม่เคยพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็จะทำให้สิ่งที่เคยเรียนรู้นั้น ล้าสมัยและใช้ไม่ได้อีกต่อไป
นำแนวคิดในการบริหารของผู้บริหารหนุ่มหล่อ มากความสามารถอย่าง ‘คุณสาระ ล่ำซำ’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) มาฝาก ดีร้ายอยู่ที่มุมมอง คุณสาระ ได้ยกข้อดีของการที่ต้องประชุมออนไลน์ และได้ให้ Solution ในการทำงาน โดยมีข้อความตอนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ว่า “ในขณะเดียวกัน แม้จะเป็นวันที่ไม่ได้เข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ ไม่ว่าพนักงานจะอยู่หรือกำลังเดินทางไปที่ใดก็แล้วแต่ มีข้อแม้อย่างเดียว นั่นคือ ขอให้สามารถติดต่อเพื่อคุยงานได้ และเมื่อมีการประชุมออนไลน์เพื่อหารือคุยกัน ขอความร่วมมือให้พนักงานทุกคนได้เปิดกล้องเพื่อให้เห็นหน้าเพื่อให้มี Eye Contact ของผู้สนทนา ทั้งนี้อาจจะเปลี่ยนพื้นหลังก็ได้” เช่นกัน ปรับ Mindset “ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับ Mindset ของคน ถ้าคนทำงานยังยึดติดแต่กับผลงานที่ประสบความสำเร็จ ไม่เคยพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็จะทำให้สิ่งที่เคยเรียนรู้นั้น ล้าสมัยและใช้ไม่ได้อีกต่อไป” นอกจากนี้ยัง Mention ในเรื่องของการ UpSkill, ReSkill ว่า “ผมได้มีนโยบายส่งเสริมให้พนักงานควรมีการ Reskill และ Upskill เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดจำเป็นต้องให้ Reskill พนักงาน ควรได้รับการเรียนรู้และหาความรู้ใหม่ ๆ คอยปรับและสร้างกระบวนการใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มเติม อีกทั้งทุก ๆ คนควรได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเองและมี Career Path ที่ดีขึ้นคู่ขนานกันไป เพื่อเพิ่ม Productive อย่างต่อเนื่อง ข้อดี คือ ทำให้พนักงานมีทักษะที่หลากหลายมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยในเรื่องการบริหารความเสี่ยงของการหา Successor หรือ Succession Plan เพราะหากพนักงานคนนี้ไม่อยู่ จะได้มีอีกคนที่สามารถทำงานแทนได้” …
อยากได้แผนธุรกิจที่ดี ไม่ใช่แค่ประชุมทีม แต่ต้องฟังจากเสียงลูกค้าและสร้างการสื่อสารให้ชัดว่า เขาและเราคือ ‘คนที่ใช่’ ของกันและกัน
อยากได้แผนธุรกิจที่ดี ไม่ใช่แค่ประชุมทีม แต่ต้องฟังจากเสียงลูกค้าและสร้างการสื่อสารให้ชัดว่า เขาและเราคือ ‘คนที่ใช่’ ของกันและกัน นั่งถามกันในที่ประชุม จะทำธุรกิจอะไรดี จะทำสินค้าและบริการอะไรดี ? คำตอบที่ได้จะเป็นแนวคิดและมุมมองจากฝั่งเราแค่ฝั่งเดียวในสิ่งที่เราอยากขาย แต่พอเอาเข้าจริงแล้ว สิ่งที่สะท้อนกลับ คือมันไม่ตอบโจทย์หรือถูกใจลูกค้า ฉะนั้นการทำแผนธุรกิจที่ดีที่สุดที่มากกว่าการแค่นั่งคิดเองคือ ‘การถามลูกค้า’ ลูกค้าคือเข็มทิศของธุรกิจที่ดีที่สุด เคยเจอไหม ? จริง บริษัทเราเซอร์วิสแค่นี้นะ แต่เมื่อเกิดความไว้ใจจากลูกค้าแล้ว ลูกค้าจะเป็นคนนำโปรดักส์อื่น ๆ มาป้อนใส่มือให้เราขายเอง และบางครั้งดันเป็นโปรดักส์ที่ขายดีกว่าโปรดักส์ตั้งต้นที่วางแผนไว้ซะดิบดี นอกจากนี้เสียงของลูกค้า ยังเป็นตัวที่ทำให้เราเห็นตัวเองในอีกมิติที่คนนอกมองเรา บางครั้งเราคิดว่าเราเก่งเรื่องนี้ แกร่งเรื่องนี้ จุดขายเราคือเรื่องนี้ แต่เอาจริงแล้วลูกค้าอาจจะ shopping เราจากเหตุผลอื่นก็ได้ การฟังให้มากกว่าพูด การตั้งคำถามให้เยอะ ๆ ยังเป็นพื้นฐานของการ create แผนกลยุทธ์อยู่เสมอ …
หากเทียบ CEO เท่ากับนก นกจะบินได้ดีไม่ใช่แค่ปีก แต่คือลมใต้ปีกที่ดี นั่นคือ ‘ทีมที่ดี’
หากเทียบ CEO เท่ากับนก นกจะบินได้ดีไม่ใช่แค่ปีก แต่คือลมใต้ปีกที่ดี นั่นคือ ‘ทีมที่ดี’ หลักวิทยาศาสตร์ ‘สมการแบร์นูลลี’ ที่ใช้สร้างเครื่องบินกันเลยทีเดียว ที่สามารถเอามาเปรียบเทียบกับการทำธุรกิจเพื่อให้ไปในทิศทางที่ดีได้กว่าคนอื่น หลายครั้งหลายคราที่เราฟังจากบทสัมภาษณ์นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ส่วนมากเขาจะให้เครดิตตัวเองน้อย แต่ยกเครดิตส่วนมากให้กับคนอื่น บอกว่าตัวเองโชคดีแบบนั้น แบบนี้ นั่นเป็นเพราะการรู้สึกขอบคุณและให้เกียรติผู้อื่น เพราะเอาจริง ๆ การที่เขาจะบอกว่าตัวเองเก่ง ฉลาด ก็คงไม่ได้ดูน่าเกลียดอะไรมากนักจากที่ทำสำเร็จ คนเหล่านี้แหละในการทำงานเราเรียกว่า ‘ลมใต้ปีก’ ลมที่คอยพยุงไว้ในวันที่เขาอ่อนแรง ลมที่คอยเป็นความสุขความอบอุ่นให้กับเขา ลมที่คอยดันให้เขาบินขึ้นสูงได้มากยิ่งขึ้นไปอีก CEO ที่ชาญฉลาด ใช้ปีกได้อย่างคล่อง จะรู้จักใช้ลมในจังหวะที่ดี รู้จักจังหวะหย่อน จังหวะตึง รู้ว่าบางอย่างก็ต้องปล่อยเพราะแก้ไขอะไรไม่ได้ รู้จักจังหวะเร่งสะบัดปีก เพื่อควบคุมลมให้ดีในทุกจังหวะถึงจะผ่านไปได้อย่างดีในทุกเหตุการณ์ลม …
หนักแน่นในจุดยืนเพราะลูกค้าไม่ได้ถูกเสมอ
หนักแน่นในจุดยืนเพราะลูกค้าไม่ได้ถูกเสมอ มันน่าจะหมดยุคที่จะส่งต่อความคิดเรื่องของ ‘ลูกค้าถูกเสมอ’ หรือ ‘ลูกค้าเป็นใหญ่’ ได้แล้ว ยิ่งในองค์กรธุรกิจแบบเราที่เป็น Agency และต้องพบเจอกับลูกค้าหลายรูปแบบที่เข้ามาเป็นประสบการณ์กับเรา ที่นี่เราจะไม่สอนว่าทีมงานว่า ‘ลูกค้าเป็นใหญ่’ หรือ ‘ลูกค้าถูกเสมอ’ แต่เราจะสอนและให้แนวคิดทีมงานว่า ‘เราจะส่งมอบประสบการณ์ตามสิ่งที่ได้ตกลงไว้ร่วมกันกับลูกค้าอย่างซื่อสัตย์ต่อเป้าหมายนั้นสูงสุด บนความถูกต้องและเหมาะสม ไม่ใช่แค่ถูกใจ’ และหนักแน่นในจุดยืนนี้อย่างเต็มที่ ถามว่า หากมีองค์กรที่มอง ลูกค้าเป็นใหญ่ ‘เป็นพระเจ้า’ ผิดหรือไม่ ไม่ผิดขึ้นกับแนวนโยบายของแต่ละบริษัท แต่วิธีนี้สิ่งที่เราค้นพบคือจะได้ผลดีต่อการขายและธุรกิจในระยะสั้นและส่งผลเสียต่อองค์กรในระยะยาว บ่อยครั้งที่เราพบจากประสบการณ์เราว่า สาเหตุที่ลูกค้าไม่พอใจ ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของสินค้าหรือบริการ แต่เกิดจากสิ่งที่ลูกค้าได้รับนั้นไม่ตรงกับความคาดหมาย ไม่ถูกใจจากความคาดหวังหรือผิดพลาดจากความเข้าใจของตนเอง เป็นการสื่อสารกันภายในที่ผิดพลาดหรือการวางแผนจากการบริหารภายในที่ยังไม่ดีพอ การแก้ไขไม่ใช่การทำให้ถูกใจ การสร้างให้ลูกค้าถูกต้องเสมอหรือเป็นใหญ่ แต่คือ การสื่อสาร อธิบายให้เข้าใจในรายละเอียดอิงตาม Objective, KPI, Scope of Work ที่ตกลงกันไว้ อีกอย่างการสร้างภาวะลูกค้าถูกเสมอ หากย้อนมองให้ดีจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์องค์กรในระยะยาวของบริษัท ทั้งยังเป็นเรื่องของการส่งต่อการทำงานที่ไม่เป็นระบบ ไม่มีหลักการ ซึ่งตรงนี้จะนำมาซึ่งโอกาสเกิดปัญหาการปฏิบัติงานของพนักงานในอนาคตและยังเป็นการฝึกให้พนักงานทำงานอย่างไม่เป็นระบบ ไม่มีหลักการ …
ทำธุรกิจ ตั้งเป้าหมายเดิมไว้ แต่เปลี่ยนวิธีหาเงินตามยุคสมัย คุณตัน ภาสกรนที เจ้าของอิชิตัน
ตั้งเป้าหมายเดิมไว้ แต่เปลี่ยนวิธีหาเงินตามยุคสมัย ถอดบทพูดคุยบนเวทีของ คุณตัน ภาสกรนที เจ้าของ ‘อิชิตัน’ ในงาน SMEs HERO Fest อย่างที่เราทราบกันดีว่า คุณตัน ภาสกรนที เป็นบุคคลและเป็นเจ้าของธุรกิจน้ำชา ‘อิชิตัน’ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีทั้ง Personal Branding ที่ผู้คนจดจำ มีทั้งความสำเร็จที่สร้างไว้มากมายในด้านธุรกิจ บนเวทีนั้น คุณตันเปิดด้วยประโยคที่น่าสนใจว่า ‘ให้ตั้งเป้าหมายเดิมไว้ แล้วเปลี่ยน วิธีในการหารายได้ เราไม่จำเป็นต้องทำเองทุกอย่าง ให้คนที่รู้ดีกว่าทำแทนจะสำเร็จเร็วกว่า’ เปิดวิธีทำธุรกิจในแบบคุณตัน จับ 3 ประเด็นหลัก เป็นเนื้อความมาเขียนไว้ได้แก่… ในการทำธุรกิจอย่างลืมเป้าหมายเดิมที่ตั้งมั่นไว้ ให้ยังคงอยู่ในเป้าหมายเดิม แล้วเปลี่ยนวิธีการหารายได้ให้เข้ามาหาเรา บนการไม่ยอมแพ้ การไม่ยอมแพ้ในที่นี้ คือ การไม่ล้มเลิกความตั้งใจในเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่ให้หาวิธีใหม่ ๆ มาทดลองทำ ธุรกิจไหนมีปัญหาให้ลองเปลี่ยนคน พนักงานคนไหนมีปัญหาให้เปลี่ยนคนใหม่มาทำแทน เป็นต้น จะทำธุรกิจต้องเข้าใจการรักษาไว้ในสิ่งที่ใช่และเข้าใจในสิ่งที่ขาด ซึ่งการจะเชื่อมต่อแบรนด์หรือ ธุรกิจ จากรุ่นสู่รุ่นนั้นให้มองหาว่า อะไรที่ดีมีอยู่และควรเก็บรักษาไว้และควรเพิ่มอะไรใหม่ ๆ เข้าไปเพื่อให้เชื่อมต่อจากรุ่นสู่รุ่น เป็นเจ้าของธุรกิจไม่ต้องคิดเองทั้งหมด เราไม่ต้องเก่งทุกอย่างและให้หาคนเก่งด้านนั้น ๆ รู้ดีเรื่องนั้น ๆ มาทำแทนเรา …
Business ที่ดีจะต้องมาพร้อม Community ที่ช่วยกันสร้างรายได้ เพราะยุคนี้คือ Community Marketing
เปิดความสำเร็จในมือ CEO YouTube ‘Susan Wojcicki’ ก่อนอำลาตำแหน่ง คุณ Susan Wojcicki นั้นถือเป็น ‘ผู้หญิงแถวหน้า’ ของวงการเทคโนโยลีคนหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมบริหารการทำงาน เธอยังถือเป็นผู้สร้าง ผู้ปลุกปั้น ผู้บริหารหญิงในแวดวงไอทีอีก 2 คนด้วย คือ Marissa Mayer ซีอีโอของ Yahoo และ Sheryl Sandberg ซีโอโอของ Facebook มองแนวโน้มและเทรนด์ให้ออก ในปี 2006 มองเห็นถึงแนวโน้มของการใช้ internet สูงมากขึ้น ดูทีวีน้อยลง คุณ Susan Wojcicki จึงเสนอให้ Google ซื้อ YouTube นับจากวันที่ซื้อจนถึงปัจจุบันโตขึ้นมากกว่า 5400% Business ที่ดีจะมาพร้อม Community ที่ช่วยกันสร้างรายได้ บทบาทสำคัญของเธอคือการเข้ามาวางแผนการตลาดเพื่อผลักดันให้ YouTube นั้นสามารถสร้างและหารายได้ได้ เธอจึงคิดเรื่องของการจ่ายเงินสนับสนุนให้กับ Content Creator, เปิด Function การฟังแบบเสียเงินและต้องจ่ายเพื่อฟังเพลงขึ้น …