จงเรียนรู้จากอดีตที่ผิดพลาด เปิดใจรับสิ่งใหม่และก้าวให้ทันโลกดิจิทัล เพราะทุกการกระทำและเทรนด์ของสังคม เป็นข้อมูลชั้นเลิศที่จะช่วยให้คุณพลิกขึ้นมาแซงหน้าคู่แข่ง
ไม่ใช่แค่ความบันเทิง ‘โยดา’ Star Wars สอนเทคนิคทำการตลาดให้ในหนัง! จากภาพยนตร์ Star Wars คงจะไม่มีสาวกคนไหนไม่รู้จัก อาจารย์เจไดระดับตำนานในกาแล็กซีที่ชื่อว่า ‘โยดา’ โดยหากลองนำมาวิเคราะห์และลงลึกในรายละเอียดจะเห็นว่ามีกลยุทธ์ในการทำ Marketing ซ่อนอยู่ในนั้น “Size matters not” ขนาดไม่ได้เป็นสิ่งที่สำคัญ แม้ตัวของโยดาจะมีขนาดเล็กกว่าตัวละครอื่น ๆ ใน Star Wars แต่ก็สามารถที่จะโชว์ความแข็งแกร่ง แสดงความเก่งกาจอย่างชาญฉลาดออกมาได้ เปรียบเสมือนกับธุรกิจที่แม้จะมีขนาดเล็ก มีงบประมาณไม่มากแต่ก็สามารถเอาชนะธุรกิจที่ใหญ่กว่าตัวเองได้ เพียงแค่เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจธุรกิจ อุตสาหกรรม สินค้า ลูกค้า ของเราได้ก็สามารถที่จะทำแคมเปญออกมาเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากที่สุด “Do. Or do not. There is no try” มีแค่ทำหรือไม่ทำ ไม่มีการลองทำ ในยุคนี้ทุกอย่าง ต้องทำทันที และทำอย่างมีแผนการ ไม่ใช่มานั่งตั้งข้อสงสัยว่าจะทำดีไหม ? เพราะหากคุณล้มเหลวในช่วงวัยที่คุณยังลุกขึ้นได้ สิ่งนี่จะเป็นประสบการณ์ที่ไม่มีสอนในตำราเรียน แต่ถ้าคุณไม่เลือกลงมือทำอาจจะปิดกั้นโอกาสและโยนโอกาสนั้นให้คนอื่นไปครองก็ได้ “May the Force be with You” ขอพลังจงสถิตอยู่กับท่าน ในจักรวาลของ Star Wars นั้น ‘พลัง’ คือสิ่งลึกลับถ้าหากเราค้นหาจนเจอและใช้มันได้อย่างเชี่ยวชาญ จะทำให้คุณแข็งแกร่งและเป็นผู้นำของโลกได้เลย โดยพลังในโลกของเราที่ว่านั้นคือ พลังแห่ง Digital Marketing, Data, Brand Experience, Technology เพราะทุกวันนี้การสื่อสาร การทำงาน การใช้ชีวิต และระบบการเงินต่าง ๆ เราสามารถทำทุกอย่างบนโลกออนไลน์ได้แล้ว จึงทำให้สิ่งทั้งหลายที่เขียนไว้กลายเป็นอาวุธที่แข็งแกร่งในการทำการตลาด หากคุณจับทางถูกและใช้มันได้อย่างเหมาะสม “The Greatest teacher, failure is” ครูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือความล้มเหลว ไม่เคยมี CEO คนดังระดับโลก หรือของไทยคนใด ที่ไม่เคยล้มเหลวมาก่อน บางคนล้มเหลวหลายครั้งจึงจะสำเร็จ โดยความล้มเหลวนี่เองคือประสบการณ์ที่ทำให้สามารถรู้ทางที่ถูกต้องและค้นพบทางลัดไปสู่ความสำเร็จได้ไวขึ้น “Always Pass on What You Have Learned” …
Supply Chain Management ธุรกิจเติบโตได้ไวและมั่นคงแบบ ZARA
หนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างความสำเร็จให้กับแบรนด์แฟชั่นระดับโลกอย่าง ZARA คือเรื่อง ‘Supply Chain Management’ อันดับแรกมาทำความรู้จักกันก่อนว่า Supply Chain Management คืออะไร ?คือการจัดการสินค้าและบริการองค์รวมทั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ จัดเก็บ ข้อมูล การจัดจำหน่าย โดยทั้งหมดจะเชื่อมโยงกันด้วยการสื่อสารกันในองค์กร เพื่อให้ธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นเพิ่มมูลค่าสินค้า ความได้เปรียบคู่แข่ง ตั้งแต่ก่อนเริ่มผลิตจนนำส่งสินค้าถึงลูกค้า สำหรับ Supply Chain Management ของ ZARA นั้นมีพื้นที่ทำงานที่เรียกว่า ‘The Cube’ ได้แก่ โซนพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบอัตโนมัติเกือบทั้งหมดในการทำงาน บริเวณโดยรอบของ The Cube ในระยะ 16 กิโลเมตร มีโรงงานผลิตเสื้อผ้าถึง 11 แห่ง วัตถุดิบต่าง ๆ จะถูกขนส่งเข้าสู่ The Cube และจัดส่งไปตามโรงงานทั้ง 11 แห่งที่เชื่อมต่อกันด้วยด้วยรถไฟอัตโนมัติที่ถูกสร้างขึ้นพิเศษ ระบบนี้ทำให้ ZARA เกิดความคล่องตัวและความรวดเร็วในการขนส่งวัตถุดิบและการขนส่งสินค้า ลดต้นทุนและระยะเวลาให้น้อยลงได้ ไปดูประโยชน์ของ Supply Chain Management ว่าจะมีส่วนสำคัญกับธุรกิจได้อย่างไรบ้าง ? และจะช่วยเพิ่มเงินให้กับธุรกิจได้จริงหรือ ? กำไรเพิ่มขึ้น : Supply Chain คือการเข้าไปช่วยควบคุมและลดต้นทุนของห่วงโซ่อุปทาน จึงทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยมีคนรับประทานอาหารกระป๋อง 3 ล้านกระป๋องต่อปี หากสามารถลดต้นทุนห่วงโซ่อุปทานลงเพียง 1 บาทต่อกระป๋อง ก็จะทำให้ประหยัดไปได้ถึง 3 ล้านบาทเลยทีเดียว ลดการสร้างโรงงานคลังสินค้าและลดพาหนะที่ใช้ขนส่ง : แทนที่จะใช้คลังสินค้า 8 แห่ง หากสามารถออกแบบ ระบบของ Supply Chain ได้ดีและเหมาะสมก็อาจจะทำให้จำนวนคลังสินค้าที่ต้องใช้ลดลงเหลือเพียง 5 แห่งได้ เพิ่มกระแสเงินสดให้มีมากขึ้น : หากสามารถจัดการ Supply Chain ได้ดี กระแสเงินสดในธุรกิจก็มีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น หากสามารถผลิตและจัดส่งสินค้า ได้ภายใน 15 วัน …
ถ้าเราเลือกแค่จะขายของ ทุกอย่างจะมาไวและไปไวมาก และโดนทดแทนได้ง่าย แต่ถ้าคุณรู้เทคนิคและสร้างแบรนด์ให้เป็นคุณจะยืนเหนือคู่แข่งทันที
เทรนด์ปี 2023!! เปิดเทคนิคสร้างการรับรู้ของแบรนด์อย่างไรให้ Impact Attractive Content สร้างคอนเทนต์ให้ดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยให้เน้นจับที่คอนเทนต์เทรนด์หรือคอนเทนต์กระแสที่กำลังมา เพราะนี้คือโอกาสของสิ่งที่คนกำลังให้ความสนใจอยู่ ซึ่งจะนำมาซึ่งการเปิดใจได้อย่างง่าย Use the Power of Social Media ใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียให้เต็มที่กับผู้คนรอบตัวคุณหรือติดตามแบรนด์ ทั้งในแง่ของการสำรวจความคิดเห็น ทั้งในแง่ของการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นความสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์ Collaboration with Influencer การสร้างแบรนด์นั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาแต่ก็มีทางลัดอยู่บ้าง เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ของแบรนด์เร็วขึ้น นั่นคือการพึ่งพาอิทธิพลหรือคอนเทนต์ที่แบรนด์ทำร่วมกันกับ Influencer Activation จัดกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้หรือการกระตุ้นการรับรู้ ไม่ว่าจะผ่านทั้งออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ สิ่งนี้จะสร้างการเปิดใจกับแบรนด์เพราะมีสิ่งที่สนใจและอยากได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแจกชุดทดลองใช้ เป็นต้น Attendant the Community เข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมหรืออิเวนต์ในอุตสาหกรรมด้านนั้น ๆ เพื่อเป็นการนำแบรนด์เข้าไป Register และตรวจเช็คด้วยว่า มีแบรนด์เราอยู่ในนั้นแล้วใช่หรือไม่ ถ้ายังจะได้ทำการสื่อสารแบรนด์ให้เราเข้าไปเป็นหนึ่งส่วนสำคัญใน Ecosystem นั้น Advertising ทางลัดที่รวดเร็วและตรงกลุ่มเป้าหมายมากอย่างหนึ่งในยุคดิจิทัล คือการยิงโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการรับรู้หรือรู้จัก Public Relations การใช้ข่าวประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมือกระตุ้นผ่านสื่อมวลชนเพื่อรองรับ Search Engine Customer Reaction กระตุ้นให้ลูกค้าหรือคนที่พบเห็นทำหน้าที่เป็น PR แบรนด์ให้กับเราด้วยในการทำคอนเทนต์เล่าประสบการณ์ที่ดี หรือรีวิวที่ช่วยซัปพอร์ตทั้งในแง่ของ Emotional & Functional Benefit ในพื้นที่โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของลูกค้า Introduction Program จัดโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นในการบอกต่อ ในการสนใจ เช่น ไลก์ แชร์ แท็กเพื่อน ลุ้นรับ XX เป็นต้น Direct to target เจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่เป็นกลุ่มแนวแบบ Home shopping ในสมัยก่อนที่ไปเคาะประตูเปิดการขาย แต่ทำในรูปแบบสนับสนุนชุมชน หรือคอมมิวนิตี้นั้น ๆ เช่น หากมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคุณแม่ก็ควรไปโฟกัสในพื้นที่โรงเรียนหรือกลุ่มปิดแม่ ๆ เป็นต้น …
มากกว่าแค่ทำภาพสื่อสาร มากกว่าแค่เขียนคอนเทนต์ แต่ต้องทำให้คอนเทนต์นี้กระทบความรู้สึกหรือกระตุกความคิดให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกเมื่อได้เห็น ได้อ่าน
คอนเทนต์แบบนี้ คอนเทนต์ที่ถูกใจในปี 2023 คิดว่าถ้าเราเป็นคนนั้น เขาอยากเห็นภาพและข้อความในภาพแบบไหน ? การทำภาพไม่ใช่เพียงแค่วางข้อความลงไปในภาพและดีไซน์ออกมาที่สวยงามเท่านั้น แต่งานดีไซน์นั้นจะต้องสะท้อนมิติของอารมณ์อะไรบางอย่างที่ภาพนั้นเข้ากับเรื่องที่กำลังจะนำเสนอเป็นแคปชั่นหรือบทความและหัวข้อที่จะเขียนเช่นกัน ต้องคำนึงเสมอว่า ถ้าเราเป็นคนนั้น เราจะอยากอ่านอะไร อ่านแบบไหนที่มันจะกระทบต่อความรู้สึกเขา กระทบต่อปัญหาที่เขาเจออยู่ กระทบต่อประสบการณ์ต่อเขาที่จะต้องมีความเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์นี้ให้ได้ หรือง่าย ๆ ทำคอนเทนต์แบบไหนให้กลุ่มเป้าหมายแชร์ไปยังพื้นที่ของเขาเพื่อให้เพื่อนเค้าได้เห็นเพิ่มมากขึ้น Research หัวข้อ อะไรที่คนกำลังให้ความสนใจมากที่สุด เทรนด์คอนเทนต์คืออะไร และเราสามารถเอาประสบการณ์ของเราไปเชื่อมโยงเพื่อเป็นมากกว่า Knowledge คือ KnowHow จากประสบการณ์จริงได้อย่างไร วางโครงร่าง จะจั่วหัวเรียกแขกหรือเรียกคลิกหยุดอ่านได้อย่างไร แต่ก็ต้องไม่เกินจริงจนทำให้คนที่สนใจคลิกอ่านรู้สึกว่าไม่ได้ประโยชน์อะไรและถูกหลอกให้คลิก แทนที่จะรู้สึกกลับกลายเป็นไม่ดีต่อคอนเทนต์แบรนด์ องค์กร เขียนและลองอ่านเพื่อแก้ไขให้ Smooth เทคนิคสำคัญคือลองอ่าน ปัจจุบันคนนิยมอ่านคอนเทนต์ที่เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย แนวแบบย่อยมาให้แล้ว สรุปมาให้แล้ว ไม่ต้องพยายามประดิษฐ์คำหรือใช้คำศัพท์เชิงเทคนิคมากจนทำให้การสื่อสารผ่านคอนเทนต์นั้น งง ไปหมด และอย่าลืมสร้าง CTA หรือ Call To Action กลับมาที่ธุรกิจคุณเสมอ Boost post ช่องทางหลักปัจจุบันก็หนีไม่พ้น โซเชียลมีเดีย และเขาก็ทำธุรกิจกับเราเช่นกัน แบ่งงบโปรโมทเล็กน้อยบางส่วนเพื่อกระตุ้นการเห็นให้มากขึ้น ตั้งกลุ่มเป้าหมายการเห็นมากขึ้น เพื่อได้เดต้ามาวิเคราะห์พัฒนาการเขียนให้ดีขึ้น …
เพราะผู้คนชอบความท้าทาย ฉะนั้นแคมเปญพีอาร์ต้องกล้าที่จะท้าให้คนออกมาทำดี อย่าง Ice Bucket Challenge ที่มาของคำว่า ‘ไวรัล’ แท้จริง
เพราะผู้คนชอบความท้าทาย ฉะนั้นแคมเปญพีอาร์ต้องกล้าที่จะท้าให้คนออกมาทำดี อย่าง Ice Bucket Challenge ที่มาของคำว่า ‘ไวรัล’ แท้จริง ในยุคหนึ่ง เวลา PR Agency อย่างเราไปรับบรีฟลูกค้าก็จะมีคำต่อท้ายเป็น PR KPI ว่า ‘ขอไวรัล’ เลยนะ ซึ่งแท้จริงแล้ว ทุกอย่างจะไวรัลไม่ได้ เพราะมันมี Key Factors หลายปัจจัยมาเป็นตัวร่วมเสริม ซัปพอร์ตและควบคุม เช่น งบประมาณ, ไม่สามารถทำแบบนี้ได้เพราะไม่ตรงกับภาพลักษณ์องค์กร, ไม่ตรงกับภาพลักษณ์ CEO หรือ ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น แต่ก็มีแคมเปญพีอาร์ ที่ทลายกฏนี้ให้เห็นอย่างชัดเจน และเรานั้นยอมรับอย่างเต็มหัวใจบนความชื่นชมหน่วยงานที่คิดแคมเปญพีอาร์เชิง CSR นี้ว่า ‘โคตรไวรัล’ นั่นคือ Ice Bucket Challenge ที่ดังทั่วโลก พาย้อนกลับไปทำความรู้จัก Ice Bucket Challenge กันเล็กน้อยว่าคือแคมเปญอะไร ? ทำเพื่ออะไร ? เจ้าของแคมเปญนี้คือ ALS Association สหรัฐอเมริกา ปล่อยแคมเปญนี้ในปี 2014 เพื่อต้องการสื่อสารให้ผู้คนเข้าใจถึงความอันตรายที่ไม่ควรมองข้ามของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการได้โดยการมีสุขภาพที่ดี หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ควบคุมความเครียด ไม่ทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากเกินไป และเป้าหมายหนึ่งคือเพื่อระดมเงินทุนให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโรคนี้ รูปแบบแคมเปญคือการท้าให้คนที่เรา Tag หรือชวนเอาน้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดราดไปที่ตัวเองและต้องรับคำท้าและทำภายใน 24 ชั่วโมง แคมเปญนี้ปล่อยได้ 2 เดือนก็ดังอย่างมากในสหรัฐอเมริกา สร้างให้มีการ Hashtag และ Twit ข้อความ “Ice Bucket Challenge” มากกว่า 2.2 ล้านครั้ง จากนั้นก็ส่งต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ไม่เพียงบุคคลทั่วไป ความไวรัลแท้จริงนี้ส่งต่อไปยัง CEO ดารา คนดัง สื่อ …
เรื่องราวความสำเร็จหนึ่งในการสร้างแบรนด์อย่าง Nike คือ ความกล้าเสี่ยงและความกล้าก้าวข้ามขีดจำกัด แบบ ‘Just Do it’
จุดเริ่มต้นของแบรนด์ Nike เกิดขึ้นเมื่อปี 1964 โดยนักกีฬาลู่วิ่งของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง 2 คน คือ Bill Bowerman และ Phil Knight ทั้งสองคน “เริ่มต้นการทำบริษัทด้วยเงินเพียง 500 ดอลลาร์” บนความฝันที่อยากจะสร้างอุปกรณ์กีฬาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ความสำเร็จของเขาทั้ง 2 คนเกิดขึ้น บน 2 ความกล้าหลักได้แก่ กล้าเสี่ยง และ กล้าก้าวข้ามขีดจำกัด พวกเขาตัดสินใจเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงและค่อย ๆ ขยายกลุ่มให้เติบโตมากขึ้น สเต็ปที่ 1 : การเลือกเป้าหมายที่สร้างชื่อให้กับแบรนด์ Nike คือการนำเสนอ Nike ผ่านกองทัพนักกีฬาชาวอเมริกันที่ต่างพากันใส่ Nike ลงแข่งขันโอลิมปิกในยุคนั้นมาใส่เกือบทั้งหมด แน่นอนว่า ผู้คนที่มีความฝันอยากเป็นนักกีฬาต่างแห่กันซื้อตามและขายดีเป็นเทน้ำเทท่า สเต็ปที่ 2 : ขายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น ด้วยการใช้ Brand Ambassador เลือกกลยุทธ์การใช้ Sport Superstar Marketing เพื่อมาขับเคลื่อนทั้ง Brand Awareness และ Brand Talk to Sale นั่นคือ ไมเคิล จอร์แดน และชื่อ ไมเคิล จอร์แดน ก็ไม่ทำให้โปรเจกต์ความกล้านี้ของ Nike ผิดหวังแต่อย่างใด ประสบความสำเร็จในแง่การส่งเสริมแบรนด์ ให้เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว เรื่องราวความสำเร็จของแบรนด์อันยิ่งใหญ่นี้เกิดขึ้นในปี 1980 สร้างการรับรู้เพิ่มใหม่ว่า Nike ไม่ใส่แค่กรีฑา แต่เพิ่มอีกคือ บาสเกตบอล ให้เกิดความต้องการและภาพจำในตลาดบาสเกตบอล ว่านักกีฬาบาสเกตบอลที่เก่งต้องใส่ Nike เท่านั้น สเต๊ปที่ 3 : การพัฒนาสินค้าและฟังก์ชันให้สอดรับกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายที่โฟกัสอย่างต่อเนื่อง ใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาสร้างความต่อเนื่องเป็น Signature ของ Nike เช่น รองเท้ารุ่น Waffle Bottom Shoes ซึ่งกลุ่มนักวิเคราะห์การตลาดก็ได้เผยว่า …
Facebook เปิด Customer Trend Insight 2023 ผู้บริหารต้องทำใจเตรียมทำงานแบบหืดขึ้นคอ องค์กรต้องพร้อมเปิด War สู้ศึกเทรนด์ใหม่เข้าให้ไวเพราะมันจะไปไวมากเช่นกัน
ถอดสรุปประเด็นจากที่ Facebook ประกาศ Insight Trend ปี 2023 ให้เราได้นำมาใช้ Guideline ธุรกิจให้เท่าทัน 2023 มีอะไรกันบ้าง Marketing After Disruption ต้องเข้าใจการทำการตลาดในยุคหลังโควิดจริง ๆ จาก WFH เป็น FHE (From Home Economy) ทุกอย่างเกิดขึ้นบนออนไลน์ และลูกค้ามีพฤติกรรมแค่ปลายนิ้วคลิก นอกจากนี้ยังเกิดการถูกซ้ำเติมจากภาวะสงคราม เงินเฟ้อ ฟองสบู่คริปโต ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคยังสวิงและต้องดูทิศทางกันอย่างต่อเนื่อง และ Facebook ได้เปิด Customer Insight Trends ของปี 2023 มาแบบนี้ เศรษฐกิจฝั่งอาเซียนดูสดใสเมื่อเทียบกับทั้งโลก ผลพวงมาจากที่อาเซียนนั้นได้รับผลกระทบน้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ เลยทำให้มีโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากกว่า ผู้บริหารจะต้องทำงานแบบหืดขึ้นคอและต้องพร้อมปรับตัวสู้ศึกตลอดเวลา จากการสำรวจผู้บริหารในองค์กรใหญ่ทั่วอาเซียนพบว่า 91% เริ่มโครงการปรับลดต้นทุนธุรกิจ, 82% วางแผนจะขึ้นราคาสินค้าและบริการ, 27% ปรับ Supply chains ให้เข้ากับแต่ละพื้นที่ในโซนที่ธุรกิจของตัวเองอยู่เพื่อลดต้นทุนและความได้เปรียบในระยะยาว คงต้องป้อน Mindset ที่ดีเข้าไป ว่ามีงานให้ทำดีกว่าตกงาน และมากกว่ามีงานให้ทำคือมีงานทำที่มีผลงาน เพราะยุคนี้เป็นยุคพึ่งฟื้นตัวเล็กน้อยอย่าพึ่งไหวตัวรีบเปลี่ยนงาน โยกย้ายงาน สังเกตการณ์ให้อีกสักปีก่อน และยิ่งในยุค Hybrid การจ่ายเงินตอบแทนมากเท่าไหร่ก็คาดหวังผลของงานมากขึ้นเท่านั้น แน่นอนว่าต้อง Proactive คือทางรอด 92% ของผู้บริหารระดับสูงเห็นตรงกันว่าแนวโน้มเศรษฐกิจช่วง 2-3 ปีข้างหน้ายากที่จะคาดการณ์ได้ ทำให้องค์กรต้องพร้อมสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่จะขึ้นลงบ่อย ๆ บวกกับกำไรของธุรกิจที่น้อยลง อีกทั้งหลายองค์กรเห็นว่าเทรนด์การซื้อสินค้าที่เน้นความคุ้มค่าของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ค่อนไปทางเน้นของถูกและดีด้วย ทำให้ผู้บริหารระดับสูงต้องหากลยุทธ์ หาวิธีมาบรรเทาเพื่อไม่ให้ธุรกิจต้องสูญหาย ล้มละลาย ในขนาดเดียวกันทีมงานต้องเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กร พร้อมเป็นนักรบที่ดีสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ผู้บริหาร มิฉะนั้นภาวะคัดคนไม่มีประสิทธิภาพตอบโจทย์ออกให้ไวจะเกิดขึ้นทันที Ecommerce Trends ยังคงเติบโตได้ดีไปจนถึงปี 2027 การขายของออนไลน์จะเติบไปได้ดีเรื่อย ๆ ในแถบอาเซียน แต่อาจจะลดน้อยลงบ้าง จากการปรับเข้าทำงาน Work From Office ได้เต็มที่ แต่ก็จะยังไปในทางบวก O2O Marketing …
Campaign PR ที่ดีจะต้องปั้นให้ User อยากมีส่วนร่วม
อย่างที่เราทราบกันดีว่าในช่วงซัมเมอร์หรือหน้าร้อนเป็นช่วงที่การ PR หรือ Marketing กลุ่มเครื่องดื่มห้ำหั่นกันอย่างหนัก เช่นกันแบรนด์เครื่องดื่มน้ำดำที่อยู่คู่กับคนไทยมานานก็ต้องงัด Campaign PR ออกมาสู้ศึกเช่นกัน แคมเปญที่อุ้มจะหยิบมาเล่าเรื่องเพื่อเป็น Case Study ถอดให้เห็นแนวคิดชื่อว่า ‘Coca-Cola Share A Coke’ แคมเปญนี้ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 2014 และแบรนด์ได้ใช้แคมเปญนี้เป็นจุดเริ่มต้นและต่อยอดมาต่อเนื่องร่วม 5-6 ปี อุ้มจะพาย้อนไปดูวิธีคิดในแบบ การสร้าง Success Campaign PR ในปีแรก เป้าหมายของแคมเปญนี้คือสร้างให้ Customer Centric ลูกค้าคือศูนย์กลางและต้องการสร้าง Personalized PR และใช้ลูกค้าเป็น PR บอกต่อแบบ ‘Word of Mouth’ จุดเด่นของแคมเปญนี้ คือการที่ลูกค้าสามารถจะพิมพ์ชื่อตัวเองลงบนฉลากของขวดโค้กหรือบนกระป๋องโค้กได้เลย ถือเป็นความแปลกใหม่ที่ผู้คนต่างแห่กันไปซื้อเพราะอยากมีชื่อตัวเองปรากฏบนกระป๋องหรือขวดโค้ก พร้อมกับเมื่อได้มีชื่อแล้วก็จะถ่ายรูปและโพสต์อวดกลุ่มเพื่อน ๆ หรือโพสต์กันยกกลุ่มว่าเรามีชื่อแล้วนะ อะไรที่สามารถสร้างให้ User Generated ร่วมกับเราได้อย่างสนุกสนาน กระตือรือร้นที่จะร่วม Campaign PR เอง แบบไม่ถูกบังคับ ผลลัพธ์ที่ออกมา คือเป็นแคมเปญที่ประสบความสำเร็จ โด่งดังทั่วโลก ทั้งในแง่ของ Campaign Awareness, Engagement และยอดขาย สิ่งที่โค้กทำสำเร็จ คือเข้าใจการทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลและสร้างการ PR แบบบุคคลกระจายสู่วงกว้าง โค้กเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง และปล่อยออกมาเป็นแคมเปญนี้ จนสำเร็จ ได้ทั้งพื้นที่สื่อ ได้รับทั้ง Feedback ที่ Positive ต่อแบรนด์และสร้างยอดขายให้โตเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ปล่อย Campaign PR นั้น +4% (ข้อมูล % จาก ChatGPT) และก็ใช้แคมเปญนี้เป็นจุดเริ่มต้นต่อยอดสู่แคมเปญ Share อื่น ๆ ในปีต่อไปและกวาดความสำเร็จต่อเนื่อง …
ออนไลน์สร้างธุรกิจมากมาย แต่ในบางธุรกิจตลาดเริ่มตัน สินค้าเริ่มล้น PR จะทำให้เกิดความโดดเด่น แตกต่าง การจดจำ ขององค์กร และ CEO นี่คือ ทางสร้างให้ก้าวนำคู่แข่งในแง่ความเชื่อใจ
อุ้มพูดอยู่บ่อยๆ และเคยเขียนคอนเทนต์ร่วมไว้ที่ 100WEALTH ในเรื่องของ PR และ Digital Marketing อุ้มมีความมั่นใจจากประสบการณ์และ Success Case มากมายว่า สินค้าเริ่มล้น ตลาดเริ่มตัน การทำการตลาดรูปแบบเดิม ๆ ไม่สามารถจะครองใจลูกค้าได้ยาวนาน ทุกอย่างดูเป็นสินค้ากระแส มาไว และต้องรีบขายออกให้ไว แล้วแบบนี้จุดที่จะเฉือนทำให้ชนะคู่แข่งได้คืออะไร คำตอบอุ้มชัดเจนมาก คือ การทำ PR ให้ถึง เพราะเมื่อไหร่ที่ทำ PR ถึงแล้วคุณจะได้รับเป็นความไว้ใจ และเมื่อไว้ใจเชื่อใจกันแล้ว ปล่อยสินค้าอะไรออกมาขายก็จะเป็นโอกาสที่ดีกว่าคนอื่นเสมอ ดูได้จากคำตอบและบอกเล่าของเจ้าของแบรนด์สินค้าความงามสุขภาพอาหารเสริมและธุรกิจออนไลน์หลายคนที่รู้จักเคล็ดลับนี้และนำมาใช้จนเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ภายในไม่กี่ปี บางคนเพียงปีเดียวก็พลิกชีวิตทั้งของตัวเองพนักงานและดีลเลอร์คู่ค้า แล้วเทคนิคที่อุ้มสรุปออกมาให้นำไปใช้เป็นทางลัดได้เลยมีอะไรบ้าง ? เป้าหมายที่ชัดเจนมาก ๆ ชัดเจนสุด ๆ คือเรื่องสำคัญลำดับที่ 1 ต้องการให้คนรู้จัก เชื่อใจ ไว้ใจ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ทางธุรกิจคืออะไร ? ด้วยข้อความสื่อสารอะไรที่จะทำให้คนรู้จักและเข้าถึงเราได้ง่าย ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่เราจะเจาะให้ได้ เจาะให้เข้าไปนั่งในหัวใจและคนเหล่านั้นพร้อมเป็นทั่วลูกค้าเริ่มจากศื้อกินใช้เองก่อนและผันมาเป็นคู่ค้าให้ได้ ไม่มีการสร้างการรับรู้อย่างรวดเร็วที่ไหนไม่ต้องใช้เงิน ต้องเซต Budget ให้ชัดเจน (ยกตัวอย่าง) ยิ่งในยุค Digital PR ที่เราสามารถ Cross พาตัวเองไป PR ได้เลยใน Media Influencer ต่าง ๆ เพราะการได้พื้นที่สื่อเหล่านั้นมันทำให้คนรู้จักได้ง่ายและได้ไวกว่าค่อย ๆ สร้างตัวตนในพื้นที่ตัวเอง จะไปด้วยกลยุทธ์ไหน ทั้ง Product, Branding เลือกให้ชัด เพราะมันจะ Scope กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนให้กับเราด้วย ลองทำคอนเทนต์สื่อสารให้แบบที่ยังไม่ขายของ แต่ให้มีเป้าหมายหลัก คือ ให้คนเห็นมากที่สุด ซึ่งถ้าเราดูจากพื้นที่โซเชียลมีเดียคงไม่พ้นคอนเทนต์ที่เล่นกับความรู้สึกของคน เช่น ช่วยคนยากจน เป็นผู้ให้ เป็นผู้สร้าง เป็นต้น ลงมือทำ เช็ค Feedback ถ้าคอนเทนต์ไหนมา กระแสดี อัดงบ Boost post เข้าไปเลย เรียกให้คนรู้จักให้ได้มากที่สุดก่อน เดี๋ยวเค้าจะมาส่องคอนเทนต์อื่น ๆ เอง …
บริบทมันคนละยุค เอาความเป็น Generation หรือแค่ประสบการณ์รุ่นตัวเองมาตัดสินคนอื่นในยุคสมัยนี้ไม่ได้ แต่ที่ต้องทำคือเปิดใจเรียนรู้อย่างเคารพ
ความน่าสนใจจากบทสนทนาในรายการ ใต้โต๊ะทำงาน OT [EP.25] ‘แสตมป์ อภิวัชร์’ บทสนทนา 4 ชายวัย 40 ชอบตั้งแต่ Tagline ของรายการที่มีความเป็นจริงแต่สนุกสนานที่ว่า ในการทำงานหนักมีความสนุก และเทปนี้น่าสนใจมาก ๆ กับบทสนทนาในรายการของเหล่าคนวัย 40 เรื่องของ Generation gap คุณสแตมป์ : ผมว่าเด็กรุ่นใหม่เค้าจะพูดไม่เยอะ รับบรีฟแล้วเค้าส่งงานมาเลย รุ่นเราแบบจะชิดแชทหน่อย เด็กรุ่นใหม่เค้าจะรู้ทิศทางของตัวเองดี รู้ว่าตัวเองชอบอะไรชัดเจนดี สมมติเวลาที่ผมไปออกรายการเค้าจะชอบบอกว่ามีอะไรจะพูดกับน้องมั้ย ? เราไม่กล้าพูดเพราะสิ่งที่เราเจอมากับสิ่งที่เค้าเจอกันอยู่ไม่เหมือนกันเลย คนละบริบทแล้ว คนละเรื่องเลย โลกที่เค้าอยู่ตอนนี้กับโลกที่เราอยู่เมื่อก่อนมันจะแชร์กันได้จริง ๆ เหรอ เช่น เราบอกให้น้องตั้งใจเรียนไป สมมติเค้าบอกมาว่าถ้าผมไม่ตั้งใจเรียนแต่แล้วผมไอ้นี่เก่งหล่ะ แนวคิดไม่เหมือนกัน วิธีคิดไม่เหมือนกันแล้ว ประสบการณ์มีประโยชน์จริง ๆ เหรอ ? ประสบการณ์จะแชร์ให้กันได้ไหม ? หลักการบางอย่างที่เราคิดว่ามันมี Fact เดียวของโลก มันไม่ใช่แล้ว ดูเทรนด์จากร้านหนังสือ รุ่นเราไปร้านหนังสือ ทำยังไงให้ประสบความสำเร็จ อ่านพ่อรวยสอนลูก รุ่นนี้กล้าที่จะถูกเกลียด เป็นปัจเจกมากขึ้น เราไม่ต้องประสบความสำเร็จเท่านั้น กูไม่อยากประสบความสำเร็จ กูอยากอยู่บ้านดู Netflix กูผิดอะไร ไม่อยากประสบความสำเร็จไม่ผิด รุ่นเราจะต้องดีกว่าคนข้างบ้านให้ได้ให้แม่ภูมิใจ ก็กูอยากเป็น ฮิคิโคโมริ (ภาวะเก็บตัว โรคเก็บตัว) อยากอยู่ในห้องก็เกิดมาเป็นแบบนี้ …